ไขมันในเลือดสูง เป็นภาวะที่สามารถพบเจอได้ ถ้าเรารับประทานอาหารที่มีไขมันสูงมากเกินไปเป็นเวลานาน แต่เราสามารถควบคุมได้เพียงแค่เปลี่ยนพฤติกรรมการกินโดยร่างกายจะมีไขมันสองชนิดคือ คอเลสเตอรอล กับ ไตรกลีเซอไรด์ แต่วันนี้เราจะพามารู้จักกับคอเลสเตอรอลกันค่ะ
คอเลสเตอรอลสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รักษาโดยทั่วไปคือการทานยาเพื่อควบคุมระดับไขมัน แต่นั่นเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะต้นเหตุจริงๆ มาจากการรับประทานอาหาร หากเรารู้จักควบคุมอาหารจะช่วยทำให้ระดับไขมันที่สูงลดลงได้
แต่อย่าเพิ่งมองคอเลสเตอรอลในแง่ร้ายขนาดนั้นค่ะ เพราะจริงๆ แล้ว คอเลสเตอรอล เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อร่างกาย พบได้ในส่วนของผนังเซลล์ทุกเซลล์ รวมทั้งเป็นองค์ประกอบของน้ำดี แต่หากร่างกายเรามีคอเลสเตอรอลมากเกินไปจากประโยชน์ก็อาจกลายเป็นโทษได้เช่นกัน
คอเลสเตอรอลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. LDL (Low-Density Lipoprotein) หรือไขมันไม่ดี ซึ่งจะนำไขมันจากตับมาสะสมตามเนื้อเยื่อต่างๆ และเกาะตัวตามผนังหลอดเลือด ทำให้เสียความยืดหยุ่นและเกิดหลอดเลือดตีบตันตามมา
2. HDL (High-Density Lipoprotein) หรือไขมันดี เป็นตัวพาไขมันส่วนเกินในกระแสเลือดกลับไปยังตับ ช่วยป้องกันการเกาะตัวของ LDL ที่ผนังของหลอดเลือดแดง ช่วยในการป้องกันการเกิดหลอดเลือดตีบตันได้
สาเหตุของคอเลสเตอรอลสูง
1. ทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารทอด ไข่แดง อาหารทะเล รวมถึงอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง เพราะสารจำพวกน้ำตาลสามารถเปลี่ยนและสะสมเป็นไขมันในร่างกายได้
2. ไม่ค่อยออกกำลังกาย ทำให้ไขมันที่สะสมอยู่ตามเนื้อเยื่อไม่ถูกเผาผลาญ
3. ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่จัด การดื่มเหล้าทำให้ตับเสียหาย สมดุลของระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายจึงผิดปกติด้วย ส่วนการสูบบุหรี่ก็ขัดขวางคอเลสเตอรอลชนิดดี หรือ HDL ไม่ให้นำไขมันส่วนเกินกลับมายังตับได้ ทำให้เกิดไขมันสะสมในผนังหลอดเลือด
4. อ้วน น้ำหนักเกิน เกิดจากมีไขมันสะสม ส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดสูงด้วย
5. มีความผิดปกติทางร่างกาย เช่น เป็นโรคตับ หรือต่อมไทรอยด์บกพร่อง
6. ปัจจัยทางพันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติในครอบครัวมีคอเลสเตอรอลสูง ก็มีโอกาสที่จะเกิดไขมันในเลือดสูงได้เช่นกัน แม้จะไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เลย
7. อายุและเพศ ยิ่งอายุมากขึ้นความเสี่ยงที่ระดับคอเลสเตอรอลจะสูงก็มากขึ้น ซึ่งเพศชายจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
1. อาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอดต่าง ๆ
2. เนื้อสัตว์ติดมัน หนังเป็ด หนังไก่ ไข่แดง แฮม เบคอน และหมูยอ
3. อาหารทะเลบางชนิด เช่น ปลาหมึก และหอยนางรม
4. ขนมหวานที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล กะทิ หรือมะพร้าว เช่น กล้วยบวชชี ขนมหม้อแกง หรือขนมถ้วย เป็นต้น
5. ขนมหรือของว่างที่มีไขมันแฝงอยู่ เช่น ขนมขบเคี้ยว โดนัท เค้ก คุกกี้ ไอศกรีม
6. ไขมันที่ได้จากสัตว์ทุกชนิด เช่น เนย มันหมู มันวัว มันไก่
การป้องกันไม่ให้คอเลสเตอรอลสูง
1. งดการทานอาหารที่มีไขมันสูง และอาหารที่มีแป้งสูง
2. เน้นทานไขมันดีในปริมาณพอเหมาะ ไขมันดีที่ว่า เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลา ไขมันจากปลาทะเล เช่น น้ำมันตับปลา ปลาแซลมอน ถั่ว ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี นมพร่องมันเนย โยเกิร์ตไม่มีไขมัน
3. ทานอาหารเสริมที่ช่วยปรับระดับคอเรสเตอรอล ช่วยลดปริมาณ LDL ซึ่งก่อให้เกิดโรคหัวใจ อย่างน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นและน้ำมันงาขี้ม้อน ชนิดแคปซูล
4. หลีกเลี่ยงการใช้ไขมันจากสัตว์ และหันมาใช้ไขมันจากพืช
5. ทานผักผลไม้มากๆ โดยเฉพาะกระเทียมและข้าวโพด ส่วนผลไม้ไม่ควรมีรสหวานจัด หรือสุกมากเกินไป เพราะผักผลไม้ที่มีไฟเบอร์หรือกากใยสูง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายได้
6. ทานอาหารประเภทต้ม นึ่ง อบ ย่าง และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ
7. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
8. ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
รู้กันแบบนี้แล้วควรรักษาสุขภาพและระมัดระวังเรื่องการรับประทานอาหารให้มากขึ้น เลือกทานแต่สิ่งที่ดี มีประโยชน์กับร่างกาย เพื่อหลีกเลี่ยงโรคร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และควรไปตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้งกันด้วยนะคะ
ด้วยความปรารถนาดีจาก แคปซูลน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ตราแมนเนเจอร์ (Organic Coconut Oil Capsule COCO MEGA 3 By ManNature)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก honestdocs