งาขี้ม้อน หนึ่งในส่วนผสมของ น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นชนิดแคปซูล
Share: facebook_share line_share twitter_share messenger_share

งาขี้ม้อน หนึ่งในส่วนผสมของ น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นชนิดแคปซูล


งาขี้ม้อน หลายคนคงได้ยินผ่านหูมาบ้าน แต่รู้ไหมคะว่า งาขี้ม้อน เป็นหนึ่งในส่วนผสมของ น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นชนิดแคปซูล ทางเราด้วย มาดูเหตุผลที่เราต้องใช้งาชนิดนี้เป็นส่วนผสมของ น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นชนิดแคปซูล กันค่ะ

 

     งาขี้ม้อน เป็นชื่อที่ไม่คุ้นหูสำหรับคนทั่วไป แต่คนในภาคเหนือคุ้นเคยกับชื่อนี้ดี งาขี้ม้อน เป็นพืชพื้นเมืองของทางภาคเหนือ มีการเพาะปลูกกันมาช้านาน งาขี้ม้อน พบการแพร่กระจายตั้งแต่พื้นที่เขตภูเขาหิมาลัย พื้นที่ภูเขาในจีนถึงเอเชียตะวันออก เมื่อมีการอพยพย้ายถิ่นฐานของคนเอเชียเข้าไปตั้งรกรากในประเทศสหรัฐอเมริกาปลายปี พ.ศ. 2343 (ค.ศ. 1800) ผู้อพยพได้นำเมล็ด งาขี้ม้อน ไปปลูกด้วย งาขี้ม้อน สามารถเจริญเติบโตปรับตัวได้ดีเข้ากับสภาพภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อมที่นั่น ในประเทศไทยพบ งาขี้ม้อน ได้ทั่วไปในภาคเหนือ ตั้งแต่ระดับความสูง 300-1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล แหล่งปลูกอยู่ที่เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง เริ่มมีการปลูกกันบ้างที่สุโขทัย

     งาขี้ม้อน เป็นพืชน้ำมันที่สำคัญชนิดหนึ่งที่เพิ่งมาเป็นที่รู้จักในหมู่คนรักสุขภาพเมื่อไม่นานมานี้ เนื่องจาก งาขี้ม้อน มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายด้าน งาขี้ม้อน ได้กลายเป็นพืชอุตสาหกรรมน้ำมันพืชชนิดใหม่กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก

     งาขี้ม้อน มีชื่อเรียกตามแต่ละท้องถิ่นได้อีกหลายชื่อ เช่น งาปุก งานก (คนเมือง) งาม้อน งาหอม งามน (แม่ฮ่องสอน), งาขี้ม้อน แง (กาญจนบุรี), น่อง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), นอ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน, กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ง้า (ลัวะ), งาเจียง (ลาว), จีนเรียกว่า ชิซู (Chi-ssu), ญี่ปุ่น เรียกว่า ชิโซะ (Shiso), เกาหลี เรียกว่า เคนนิป (Khaennip) อินเดีย เรียกว่า พันจีร่า (Bhanjira), เบงกอล เรียก Babtulsi เป็นต้น

     งาขี้ม้อน มีชื่อสามัญว่า เพอริลล่า (Perilla) ชื่อวิทยาศาสตร์ Perilla frutescens (L.) Britton (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์Ocimum frutescens) เป็นพืชในวงศ์เดียวกับกะเพรา (Labiatae) ไม่ได้อยู่ในวงศ์เดียวกับงาทั่วไป (Pedaliaceae) งาขี้ม้อน มีชื่อเรียกอีกว่า ต้นกะเพราจีน (Chinese basil), ต้นสเต๊กเนื้อ หรือต้นบีฟสเต๊ก (beefsteak plant) ชื่อบีฟสเต๊กคาดว่าเริ่มใช้เรียกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2523 กับอาหารยอดนิยมชนิดหนึ่งของญี่ปุ่น ที่มีส่วนประกอบของใบงาขี้ม้อน

     งาขี้ม้อน เป็นพืชล้มลุก พืชฤดูเดียวเหมือนกับกะเพรา โหระพา แมงลัก ยี่หร่า ในภาคเหนือมีการเพาะปลูกตามไหล่เขา เนินเขา และพื้นที่ราบ แม้กระทั่งพื้นที่ว่างตามหัวคันนา ปลูกไว้เพื่อจำหน่าย และปลูกเพื่อบริโภคเอง ปลูกเป็นพืชหลังนา และการปลูกในช่วงฤดูฝน เก็บเกี่ยวฤดูหนาว เป็นพืชที่มีความทนทานสามารถเจริญเติบโตได้ดีกับดินแทบทุกสภาพ ส่วนใหญ่จึงปล่อยให้ขึ้นเองตามธรรมชาติ การดูแลรักษามีน้อยมาก พันธุ์ งาขี้ม้อน มีพันธุ์ใบสีเขียว และพันธุ์ใบสีม่วง ใบสีเขียวเป็นพันธุ์ที่พบมากในประเทศไทย งาขี้ม้อน มีทั้งหมด 130 สายพันธุ์ และมีอยู่ 10 สายพันธุ์ ที่ทางศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัยคัดเลือกไว้ โดยแบ่งออกเป็น 3 พันธุ์ ได้แก่

  • งาดอ เป็นงาขี้ม้อนอายุสั้น
  • งากลาง อายุอยู่ระหว่างงาดอกับงาปี
  • งาปี มีอายุมากกว่า

 

ประโยชน์ของ งาขี้ม้อน

     เมล็ด และใบ งาขี้ม้อน ใช้เป็นอาหารได้หลายอย่าง คนภาคเหนือใช้ประโยชน์จากเมล็ด งาขี้ม้อน มาช้านาน โดยนำเมล็ดมาบริโภคทำเป็นอาหารว่างหรือของหวานชนิดหนึ่งที่ทำได้อย่างง่าย ๆ ใช้เมล็ดงาตำกับเกลือคลุกกับข้าวเหนียวขณะที่ยังร้อน ๆ ตำให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันกับงา หรือคั่วงาให้สุกแล้วตำงากับเกลือในครกจนเข้ากันดี และคลุกกับข้าวเหนียวร้อน ๆ จะได้กลิ่นหอมของข้าวสุกใหม่ และกลิ่นของงา หากต้องการขบเมล็ดปนอยู่บ้างก็ไม่ต้องตำจนละเอียด แต่ถ้าไม่ชอบให้เป็นเมล็ดก็ตำให้ละเอียดได้ ใส่ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ ลงตำคลุกเคล้ากับงาในครก ถ้าทำครั้งละมาก ๆ จะตำในครกกระเดื่อง หรือจะคลุกเคล้าข้าวเหนียวอุ่น ๆ กับงาให้เข้ากันดีก่อนแล้วเติมเกลือ และตำให้เข้ากันอีกทีก็ได้

     อาหารชนิดนี้คนภาคเหนือเรียกว่า ข้าวหนุกงา หรือ ข้าวนุกงา รับประทานเป็นอาหารว่างหรือของหวาน  บางคนจะเติมหัวกะทิลงไปด้วย เพิ่มความมันจากกะทิรสชาติต่างออกไป ข้าวหนุกงาที่เติมกะทิจะเก็บไว้ไม่ได้นาน จะบูดง่ายควรรีบรับประทานขณะยังอุ่น ๆ เชียงใหม่เรียก ข้าวหนุกงา คำว่า “หนุก” หมายถึง คลุกหรือนวด ลำปางบางพื้นที่เรียกว่า “ข้าวนึกงา หรือ ข้าวหนึกงา คำว่า “หนึก” หมายถึง การคลุกเคล้าให้เข้ากัน ยังมีชื่อเรียกอาหารชนิดนี้แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น ข้าวงา, ข้าวคลุกงา, ข้าวแดกงา ข้าวหนุกงา จะได้รสชาติดีถ้าใช้งาที่เก็บมาใหม่ๆ ถ้าใช้ข้าวเหนียวดำมาตำผสมกับงาขี้ม่อนให้เหนียว และทับรีดเป็นแผ่นบนใบตอง รับประทานขณะอุ่นๆ หรือนำไปย่างไฟใส่น้ำตาลอ้อยลงไปก่อนรับประทาน เรียกว่า “ข้าวปุกงา” หรือ “ข้าวปุ๊กงา”

    การใช้ประโยชน์จากเมล็ด งาขี้ม้อน ยังใช้แปรรูปหรือเป็นส่วนผสมในอาหารได้หลายอย่าง เช่น ผสมในข้าวหลาม ใส่ในขนมรังผึ้ง ใส่ในข้าวต้มมัด ใส่ในขนมเทียน ขนมงา งาคั่ว งาแผ่นคล้ายขนมถั่วตัด คุกกี้งา น้ำมันงาอัดเม็ด น้ำมันงาสกัดเย็น ใช้น้ำมันมาทำเนยเทียม งาขี้ม้อน ชา งาขี้ม้อน ป่น ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบำรุงผิว เป็นต้น

     คนเอเชียรู้จักใช้ใบ งาขี้ม้อน มานานหลายร้อยปี โดยเฉพาะคนจีนจะใช้ใบ และยอดอ่อนเพื่อแต่งรสชาติ และแต่งกลิ่นอาหาร ใบ งาขี้ม้อน ใช้รับประทานสดได้ ใบมีกลิ่นหอม ใช้แทนผักสด ใช้ใบห่อข้าว  ใช้ห่อขนมเทียน ชุบแป้งทอด ใส่กับสลัด เนื้อย่าง หมูย่าง ห่ออาหารประเภทเมี่ยงปลา หรือใช้เป็นผักแนม รับประทานร่วมกับอาหารรสจัดประเภทยำต่าง ๆ ชาวญี่ปุ่น และชาวเกาหลีนิยมรับประทานใบ งาขี้ม้อน เป็นผักเคียงคู่กับซาซิมิหรือเนื้อปลาดิบ เนื่องจากใบ งาขี้ม้อน มีสรรพคุณดับกลิ่นคาวและต้านการแพ้อาหารทะเลได้ ดังนั้น ใบ งาขี้ม้อน จึงมีราคาสูงในญี่ปุ่น เกาหลี ใบ งาขี้ม้อน พบว่ามีสารที่ช่วยลดอาการซึมเศร้าได้

 

          น้ำมัน งาขี้ม้อน

     น้ำมันสกัดจากเมล็ด งาขี้ม้อน เริ่มได้รับความสนใจเมื่อไม่นานมานี้ ในเมล็ดมีน้ำมันสูง ประมาณ 31-51% เป็นแหล่งของกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (PUFA) พบว่า น้ำมันจากเมล็ด งาขี้ม้อน มีประโยชน์หลายอย่าง งาขี้ม้อน เป็นพืชน้ำมันชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติที่ดีเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มีคุณค่าทางโภชนาการสูง น้ำมันสกัดจากเมล็ด งาขี้ม้อน นำมาใช้เป็นอาหาร และใช้ทำยาได้ ช่วยป้องกันโรคได้หลายโรค เมล็ด งาขี้ม้อน มีโปรตีน 18-25 เปอร์เซ็นต์ วิตามินบี และแคลเซียมสูงกว่าพืชผัก 40 เท่า โดยมีปริมาณแคลเซียมประมาณ 410-485 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม และฟอสฟอรัสมากกว่าพืชผักทั่วไป 20 เท่า งาขี้ม้อน เป็นพืชชนิดเดียวที่มีโอเมก้า 3, 6 และ 9 ซึ่งมีมากกว่าน้ำมันปลา 2 เท่า เนยเทียมที่ผลิตจากน้ำมัน งาขี้ม้อน เป็นผลิตภัณฑ์อาหารใหม่สุดที่มีความปลอดภัยสูง เพราะปราศจากไขมันทรานส์

     ปัจจุบัน ได้มีการนำเมล็ด งาขี้ม้อน มาสกัดน้ำมันในรูปแบบของน้ำมันบริสุทธิ์ ( virgin oil ) และใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นชนิดแคปซูล ( Coconut Oil Capsule ) นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมทางแมนเนเจอร์ถึงนำ งาขี้ม้อน มาเป็นหนึ่งในส่วนผสมของ น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นชนิดแคปซูล ( Coconut Oil Capsule ) เนื่องด้วยสรรพคุณต่าง ๆ มากมาย อีกทั้งยังมีโอเมก้า 3 ที่เป็นตัวช่วยในการพัฒนาสมอง และระบบประสาทอีกด้วย

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

ดูแลตัวเองด้วย น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นชนิดเม็ด

แคปซูลน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ป้องกันการขาดวิตามินอี