แคปซูล มีกี่ประเภท แล้วทำไมถึงนิยม
Share: facebook_share line_share twitter_share messenger_share

แคปซูล มีกี่ประเภท แล้วทำไมถึงนิยม


ศุกร์สุดสัปดาห์แบบนี้ ขอนำสาระน่ารู้เกี่ยวกับ แคปซูล มาเสนอ เพื่อเป็นเกร็ดความรู้ ในการใช้ ยา เนื่องจากปัจจุบัน ยา สมุนไพร และ ผลิตภัณฑ์ อาหารเสริม ต่าง ๆ ผลิตออกมาในรูปแบบของ แคปซูล กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น หลายคนอาจเคยสงสัยเวลาทาน ยา แคปซูล ว่าที่ทานเข้าไปทำมาจากอะไร แล้วทำไมถึงไม่เป็นอันตราย วันนี้เรามีคำตอบมาให้หายสงสัยกันค่ะ

 

แคปซูล ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนของตัวยา และ เปลือก หรือ ปลอกแคปซูล โดยเปลือก หรือ ปลอกแคปซูล ส่วนใหญ่ทำมาจากเจลาติน และน้ำ ซึ่งเจลาตินทำมาจากการแปรรูปคอลลาเจน ที่เป็นองค์ประกอบที่อยู่ในผิวหนัง และกระดูกสัตว์ เช่น วัว หมู โดยเปลือก แคปซูล สามารถละลายได้ที่อุณหภูมิของร่างกายของเรา

 

หน้าที่ของ ปลอกแคปซูล คือ เป็นภาชนะบรรจุยา แล้วนำลงจากปากไปสู่ลำไล้เล็กเพื่อดูดซึมไปในกระแสเลือด โดยยาที่จำเป็นต้องบรรจุในแคปซูลนั้นเป็นเพราะต้องการกลบกลิ่น และรสที่ไม่ดีของยา และยังสามารถใช้ระบุเอกลักษณ์ของยา แยกชนิดโดยใช้สี ซึ่งยาเม็ดทั่วไปมีข้อจำกัดไม่สามารถทำได้ มีกระบวนการผลิตที่ง่ายกว่ายาเม็ด ไม่ต้องคำนึงเรื่องแรงอัด และความร้อนที่เกิดในกระบวนการผลิต เหมาะสำหรับยาที่ไม่ทนต่อความร้อน

 

แบ่งตามประเภท แคปซูล ออกเป็นดังนี้

แคปซูลชนิดที่ไม่มีฟังก์ชั่น ( Non-functional capsules ) เพื่อกลบรสชาติ หรือกลิ่น เช่น ยาที่มีรสขม หรือมีกลิ่นแรง

แคปซูล ชนิดที่มีฟังก์ชั่น ( Functional capsules ) เพื่อให้มีการปลดปล่อยตัวยาทีละน้อย แบบต่อเนื่องยาวนาน เพื่อลดความถี่ และเพิ่มสะดวกในการรับประทาน ยา มักมีคำต่อท้ายชื่อทางการค้าต่าง ๆ เช่น SR ( sustained-release ) , XR ( extended-release ) , MR ( modified-release ) , PL ( prolonged-release ) , CR ( controlled-release ) เป็นต้น โดยแบ่งเป็น

แคปซูล ธรรมดาที่บรรจุยาเม็ดเล็ก ๆ ที่เคลือบด้วยสารควบคุมการปลดปล่อยตัว ยา อย่างช้า ๆ  จะสามารถแกะ แคปซูล ประเภทนี้ได้ แต่ห้ามบดเม็ดยาเล็ก ๆ ( pellets ) ข้างใน เพราะจะทำให้ได้รับ ยา ขนาดสูงจนเกิดพิษได้

แคปซูล ประเภทที่ควบคุมการปลดปล่อย โดยการเคลือบสารบนเปลือกแคปซูล จะไม่สามารถแกะเปลือก แคปซูล ประเภทนี้ได้ เช่น DilantinKapseal® เนื่องจากสูญเสียการควบคุมการปลดปล่อยตัวยา

นอกจากนี้ยาบางชนิดถูกทำลายได้ง่าย จากกรดในกระเพาะอาหาร จึงมีการเคลือบสารบางอย่าง เพื่อป้องกันยาถูกทำลาย หรือมีการเคลือบบนเม็ดยาเล็ก ๆ แล้วบรรจุใน แคปซูล หรือ เคลือบบนเปลือก แคปซูล เลยก็ได้เช่นกัน

 

แคปซูล มีด้วยกันหลายรูปแบบ สามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท

แบบแคปซูลเปลือกแข็ง ( Hard Capsule )

แคปซูลเปลือกแข็ง มักจะมีลักษณะเป็นทรงยาว หัวมน สิ่งที่บรรจุภายในมีทั้งของแข็ง , กึ่งของแข็ง , ของเหลว มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ ตัวแคปซูล และฝาปิด ( Body and Cap ) เมื่อบรรจุยาแล้ว ถึงนำมาสวมต่อกันได้แน่นสนิท พบมากในประเภทยาปฏิชีวนะ เช่น ยาแก้อักเสบ

 

แบบแคปซูลเปลือกนิ่ม ( Soft gelatin Capsule )

แคปซูลเปลือกนิ่ม แตกต่างกันที่วิธีการผลิต เวลาผลิตจะผลิตเปลือก และบรรจุยา ไปพร้อมกัน ใช้ในกรณีที่ตัวยาไวต่ออากาศ และแสงอย่างมาก เช่น พวกน้ำมันตับปลา และวิตามินต่าง ๆ มีลักษณะเป็นทรงกลม และ ทรงรี แคปซูล ประเภทนี้ จะไม่สามารถแกะออกมาได้ เหมือนแคปซูลชนิดแข็ง

 

 จุดเด่นของ แคปซูล 

- กลืนง่าย

เนื่องจาก แคปซูล ส่วนมากมีรูปร่างยาว ช่วยให้ลิ้นเคลื่อนเปลือก แคปซูล ลงคอได้ง่าย นอกจากนี้ เปลือกแคปซูล ยังสามารถปกปิดรสชาติของผงยา ที่อยู่ข้างในได้ จึงทำให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการทานยามากขึ้น

 

- การดูดซึม ยา

เปลือกแคปซูล โดยทั่วไปจะละลาย เมื่ออยู่ในกระเพาะอาหารอย่างรวดเร็ว ทำให้การปลดปล่อยตัวยาออกจากแคปซูลรวดเร็วตามไปด้วย เนื่องจากผง ยา ใน แคปซูล ไม่ได้ถูกตอกอัดเหมือนอย่างยาเม็ด ผงยาจึงสามารถละลาย ในของเหลวที่ระบบทางเดินอาหารได้ทันที การดูดซึมยาจึงเร็วขึ้น และสามารถออกฤทธิ์ได้เร็ว มีความเข้มข้นของตัวยาออกฤทธิ์ในกระแสเลือดสูง

 

ด้วยความปรารถนาดีจาก แคปซูลน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ตราแมนเนเจอร์ ( Organic Coconut Oil Capsule COCO MEGA 3 By ManNature )

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Haijai

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

บทความ แคปซูลน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น

ดูแลสุขภาพด้วยแคปซูลน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น