หมอกหรือควัน
Share: facebook_share line_share twitter_share messenger_share

หมอกหรือควัน


ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยมากทั้งฝุ่นทั้งควันเช้าๆ ที่เรียกจางๆนั้นไม่ใช่หมอกนะครับอย่าเข้าใจผิดกันนั้นคือฝุ่นหรือควันที่เค้าบอกว่า pm2.5 กำลังกลับมาหาเราอีกแล้วแก้ง่ายๆ เรามีวิธี

 

PM2.5 คืออะไร และทำไมจึงสามารถก่อมะเร็ง

     ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน คือ มลพิษฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ กล่าวคือ เล็กจนสามารถเล็ดลอดขนจมูกเข้าสู่ร่างกายได้ และมีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของขนาดเม็ดเลือด (5 ไมครอน) ดังนั้นฝุ่นพิษจึงสามารถเข้าสู่เส้นเลือดฝอยและกระจายไปตามอวัยวะได้ ฝุ่นมีลักษณะที่ขรุขระคล้ายสำลี ฝุ่นเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก ไฮโดรคาร์บอน และสารก่อมะเร็งจำนวนมาก

 

     ฝุ่นขนาดใหญ่จะตกลงสู่พื้นตามแรงดึงดูดของโลก แต่ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน10ไมครอน (PM10) และฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน2.5ไมครอน (PM2.5) จะสามารถลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศได้นานและปะปนกับมลพิษอื่นในอากาศ หากปะทะเข้าจมูกหรือปาก

 

     ฝุ่นละอองขนาดใหญ่กว่านี้บางส่วนถูกขับออกมาเป็นเสมหะและสามารถแพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ถุงลมในปอด และผ่านเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังและมะเร็งหากสะสมอยู่ในอวัยวะใดนาน ๆ

 

PM2.5 มาจากไหน ?

     ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มาจากการคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้า การผลิตของภาคอุตสาหกรรม กิจกรรมจากแหล่งที่อยู่อาศัยและธุรกิจการค้า และการเผาในที่โล่ง แบ่งได้เป็นฝุ่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดโดยตรงและฝุ่นที่เกิดจากการรวมตัวของก๊าซและมลพิษอื่นๆ ในบรรยากาศ โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซด์และออกไซด์ของไนโตรเจน ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ยังเป็นมลพิษข้ามพรมแดนและปนเปื้อนอยู่ในบรรยากาศได้นาน เป็นฝุ่นอันตรายไม่ว่าจะมีองค์ประกอบทางเคมีใดๆ ก็ตาม เช่น ปรอท แคดเมียม อาร์เซนิก

 

เราจะป้องกันตัวอย่างไร?

1. หาเครื่องป้องกัน ใช้มาสก์ปิดจมูกที่สามารถกันฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 ได้ ซื้อใช้แล้วก็ต้องเปลี่ยนอันใหม่ตามอายุการใช้งาน

2.  ใช้แอพพลิเคชั่นที่ตรวจค่ามลพิษ ฝุ่นพิษต่างๆ เช่น AQI กรมควบคุมมลพิษ ฯลฯ

3. ใช้เครื่องฟอกอากาศ

4. หากใครที่ภูมิต้านท้านน้อยก็สามารถกิน น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นชนิดแคปซูล ตราแมนเนเจอร์ สามารถช่วยป้องกัน และต้านท้านฝุ่น ได้ดีอีกด้วย

 

แล้วถ้าเราไม่อยากกินพวกยาละทำไงดี เรามีอาหารต้านภัย

1. ผักตระกูลกะหล่ำ ได้แก่ บร็อกโคลี กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว ล้วนอุดมด้วยสารอาหารและวิตามินหลายชนิด โดยเฉพาะสารชัลโฟราเฟนที่ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย จึงลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดจากฝุ่นพิษ และยังช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงด้วย

 

2. ผลไม้มากวิตามินซี นอกจากจะช่วยบำรุงผิวพรรณให้สดใสเปร่งปรั่งแล้ว ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง เสริมภูมิร่างกายให้แข็งแรง และยังช่วยขับสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกายที่อาจได้รับจากปัญหามลพิษ บรรเทาอาการภูมิแพ้และทำให้ปอดแข็งแรงขึ้น พบมากในผลไม้จำพวกฝรั่ง กีวี มะขามป้อม ส้มโอ มะละกอสุก มะนาว ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ฯลฯ

 

3. ปลาและอาหารทะเล เป็นอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง ที่ช่วยเสริมสร้างผนังเซลล์ในร่างกายและมีส่วนช่วยดูแลสุขภาพจากผลกระทบของฝุ่นพิษได้ พบได้ในปลาทะเลและปลาน้ำจืดบางชนิด เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาทู ปลากะพงขาว ปลาดุก ปลาช่อน กุ้ง หอย รวมถึงน้ำมันปลา ซึ่งการกินปลาด้วยวิธีต้ม แกง หรือนึ่งจะได้ประโยชน์ที่สุดเพราะโอเมก้า 3 จะสูญสลายหากผ่านความร้อนสูงๆ เช่นการทอด

 

4. ผักผลไม้สีส้ม-เหลือง-แดง เต็มไปด้วยวิตามินเอและเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยเสริมระบบทางเดินหายใจและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง โดยเฉพาะเสริมประสิทธิภาพการทำงานของปอดให้ดีขึ้น พบมากในกลุ่มผักผลไม้ที่มีสีส้ม สีเหลือง และสีแดง เช่น ฟักทอง มะเขือเทศ แครอท มันเทศ มันหวาน มะละกอข้าวโพด รวมถึงผักใบเขียวเข้มอย่างผักบุ้งและตำลึงก็ช่วยต้านฤทธิ์ฝุ่นจิ๋วได้

 

5. ธัญพืชต่างๆ เช่น ถั่ว งา เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง เม็ดแมงลัก เรื่อยไปถึงขนมปังโฮลวีต ซีเรียลชนิดโฮลเกรน ล้วนมีส่วนช่วยดูแลสุขภาพได้เช่นกันเพราะมีคุณค่าทางอาหารสูง บางชนิดนอกจากจะให้กรดโอเมก้า 3 เช่นเดียวกับเนื้อปลาแล้ว ยังมีวิตามินอีซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นเยี่ยมที่ช่วยชะลอการเสื่อมสมรรถภาพของเซลส์และปกป้องปอดจากมลพิษได้

 

จากข้อมูลที่เรารวบรวมมาจะเห็นได้ว่า pm 2.5 นั้นอันตรายมากๆ  ถ้าจะออกจากบ้านหรือไปข้างนอกก็ควรมีที่ปิดจมูกและปากนะครับ หรือถ้าให้ดีก็ใส่แว่นกันลมด้วยจะดีมากเลย

 

ด้วยความปรารถนาดีจาก แคปซูลน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ตราแมนเนเจอร์ (Organic Coconut Oil Capsule COCO MEGA 3 By ManNature)

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  ttc