ความคิดที่ว่า โอเมก้า 3 สามารถทานได้จากปลาทะเลอย่างเดียวเท่านั้น ทำความเข้าใจใหม่นะคะ ในพืชก็มีอุดมไปด้วยโอเมก้า 3 เช่นกันค่ะ โดยเฉพาะในงาขี้ม่อน ในน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ชนิดแคปซูล
กรดไขมันอีพีเอ ( Eicosapentaenoic Acid: EPA ) และ กรดไขมันดีเอชเอ ( Docosahexaenoic Acid: DHA ) คือ กรดไขมันสายยาวที่สร้างจาก กรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิก ที่อยู่ภายในร่างกาย โดย กรดไลโนเลนิก จะถูกเปลี่ยนเป็น กรดไขมันอีพีเอ และ ดีเอชเอ ซึ่งเกิดขึ้นได้น้อย จึงควรบริโภคอาหาร หรือ พวกอาหารเสริม ที่มี กรดไขมันอีพีเอ และ ดีเอชเอ โดยตรง เพื่อช่วยเพิ่มระดับของกรดไขมันทั้ง 2 ให้กับร่างกาย อาหารที่อุดมไปด้วย กรดไขมันอีพีเอ และ กรดไขมันดีเอชเอ มักเป็นอาหารจำพวกปลา และ หอย เช่น แซลมอน ทูน่า ปู หรือ หอยนางรม
กรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิก ( Alpha-Linolenic Acid: ALA ) คือ กรดไขมันที่สร้างกรดไขมันโอเมก้า 3 ชนิดอื่นขึ้นมา โดยร่างกายสร้างกรดนี้เองไม่ได้ ต้องรับมาจากการรับประทานอาหารจำพวกน้ำมันพืช เมล็ดพืช ถั่ว และ ผักใบเขียว
กรดไขมันโอเมก้า 3 แต่ละชนิด มีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากร่างกายสามารถเปลี่ยนรูปกรดไขมันจากอัลฟ่าไลโนเลนิค ( ALA ) เป็น กรดไขมันอีพีเอ ( EPA ) และ เป็นกรดไขมันดีเอชเอ ( DHA ) ซึ่งเป็นกรดไขมันที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในที่สุด
โอเมก้า 3 ไม่ได้มีอยู่แค่ในปลาทะเลเท่านั้น ในพืชยังอุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ซึ่งบอกได้เลยว่า กรดไขมันจำเป็นชนิดโอเมก้า 3 ในพืชมีปริมาณที่สูงไม่แพ้ปลาทะเลเลยค่ะ ที่สำคัญ ปลอดภัยจากสารพิษ และ สารเคมี 100%
พืชใดบ้าง ที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3
1. เมล็ดเจีย ( Chia Seeds )
โดยเฉพาะความโดดเด่นในเรื่องของโปรตีน และ ไฟเบอร์ นี่คือ เมล็ดเจีย จึงทำให้ใครหลายคนนิยมชมชอบ หันมาให้ความสนใจเมล็ดเจีย ( Chia Seeds ) โดยนำไปผสมในอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่ม เพื่อเพิ่มโปรตีน และ ไฟเบอร์ให้กับร่างกาย อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลย นั่นคือ กรดไขมันจำเป็นชนิดโอเมก้า 3
จากข้อมูลด้านโภชนาการพบว่า เมล็ดเจีย ( Chia Seeds ) เพียง 28 กรัม มีปริมาณโอเมก้า 3 มากถึง 4,915 มิลลิกรัม ซึ่งมากกว่าปริมาณโอเมก้า 3 ที่เราควรได้รับต่อวันเสียอีก โดยปกติ ปริมาณโอเมก้า 3 สำหรับกลุ่มคนที่มีอายุ 19 ปี ขึ้นไปในผู้หญิงควรได้รับในปริมาณ 1,100 มล. / วัน และ ผู้ชายควรได้รับปริมาณ 1,600 มล. / วัน
ทั้งนี้ มีงานวิจัยหนึ่งได้ค้นพบว่า การบริโภค เมล็ดเจีย ( Chia Seeds ) เป็นประจำ จะมีส่วนช่วยในการลดปริมาณไตรกลีเซอไรด์ ลดค่าน้ำตาลในเลือด และ ลดการอักเสบในร่างกาย ส่วนอีกงานวิจัยได้พบข้อมูลเพิ่มเติมว่า เมล็ดเจีย สามารถช่วยเพิ่มไขมันตัวดี ( HDL cholesterol ) ให้ร่างกาย รวมถึงเพิ่มระดับกรดไขมันโอเมก้า 3 ในเลือดอีกด้วย
2. เมล็ดงาขี้ม้อน ( Perilla frutescens seeds )
เมล็ดงาขี้ม้อน หรือ งาม้อน ถือเป็นพืชอุดมไปด้วยสารอาหารนานาชนิด และในที่นี้ คือ กรดไขมันจำเป็นชนิดโอเมก้า 3 ที่มีมากถึง 54% หรือ ประมาณ 9,000 มล. / 1 ช้อนโต๊ะ
แต่สำหรับในรูปแบบน้ำมัน แนะนำให้รับประทานในรูปแบบของ น้ำมันสกัดเย็น เนื่องจาก น้ำมันงาขี้ม่อน เป็นน้ำมันที่เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ แนะนำ น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ชนิดแคปซูล ( Organic Coconut Oil Capsule ) รับประทานครั้งละ 2 - 3 ก่อนอาหาร รับประทานง่าย พกพาไปได้ทุกที่
ส่วนผสมจาก น้ำมันมะพร้าว ( coconut oil ) โอเมก้า 3 ( omega 3 ) จากน้ำมันงาขี้ม่อน ซึ่งมีกรดไขมันปานกลาง ที่ช่วยเร่งการเผาผลาญพลังงาน ย่อยง่าย และ สามารถนำไปสร้างพลังงานได้ในทันที
ด้วยความปรารถนาดีจาก แคปซูลน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ตราแมนเนเจอร์ (Organic Coconut Oil Capsule COCO MEGA 3 By ManNature)
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่
“แคปซูลมะพร้าวสกัดเย็น” ช่วยลดไขมันไม่ดี
เลือกกินไม่ผิด แคปซูลน้ำมันมะพร้าว บรรเทาอาการ โรคระบบประสาท