สังเกตอย่างไรว่า ยาเสื่อมคุณภาพ
Share: facebook_share line_share twitter_share messenger_share

สังเกตอย่างไรว่า ยาเสื่อมคุณภาพ


ในปัจจุบัน นั้น แน่นอนว่า มีการผลิต ยาขึ้นมามากมายและแต่ละยานั้นจะมีการเก็บรักษา ที่แตกต่างกันออกไป แต่วันนี้เราจะมาแนะ และ วิธีการสังเกตว่า ยา เสื่อมสภาพอย่างไรและควรเก็บอย่างไร ไปดูกัน

ถึงแม้ยา ที่ผลิตมา จะผ่าน กระบวนการ ผลิตตาม วิธีการ และ ผ่านการตรวจสอบ คุณภาพ มาอย่างเข้มงวดแล้ว แต่ก็ไม่ อาจคง คุณภาพ นั้นไว้ได้ ตลอดกาล เนื่อง จากยาแต่ละชนิดจะมี คุณภาพ เปลี่ยนแปลงไป เพื่อ ไม่ให้มีการ จัดเก็บ ยาไว้นานจน เกินไป จนยาหมดอายุ และ เสื่อมสภาพลงจนมี ผลให้คุณภาพลดน้อยลง ไปจากเดิม

การเสื่อมสภาพของ ยา เกิดขึ้นได้ใน 3 ลักษณะ คือ

 

  • การเสื่อมสภาพ ของยา ในรูปแบบ ของ ทางเคมี ได้แก่ การลดลงของปริมาณตัวยาสำคัญ และการเพิ่มขึ้นของสารสลายตัว

 

  • การเสื่อมสภาพ ของยา ทางกายภาพ จะแบ่ง ได้แก่ ความผิดปกติของ รูปร่าง ยา รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆของยา เช่น สี กลิ่น รสชาติ ความใสหรือขุ่น หรือ การเกิดตะกอน

 

  • การเสื่อมสภาพ ของยา ในรูปแบบ ทางจุลชีววิทยาได้แก่ การปนเปื้อนของเชื้อเกิน ระดับปลอดภัย

 

การเสื่อมสภาพ ของ ยา นั้น จะมีด้วยกัน ทั้งสามลักษณะมีความเกี่ยวข้อง เช่น การเพิ่มขึ้น ของสารสลายตัว อาจทำให้ กลิ่น รสชาติ ของ ยา เปลี่ยนไป และอาจก่อให้เกิด การเปลี่ยนแปลงรูปแบบต่างๆ ของยาไม่ว่าจะเป็น ลักษณะ หรือ รสชาติ รวมไปถึง สพคุณ ทางยาที่หายไป หรือก่อให้เกิดพิษต่อร่างกาย ดังนั้นจึงไม่สมควรที่จะนำยาที่เสื่อมสภาพมาบริโภค เพราะ อาจเกิด อันตรายต่อ ร่างกายของ เราได้นั้นเอง และ บางยา อาจอันตรายถึงชีวิตได้เลย นั้นเอง

 

 

วิธีสังเกตยา เสื่อมคุณภาพ

1. ยาเม็ด 

     เมื่อหมด อายุมักมีสี เปลี่ยนไป มีจุดด่าง ขึ้นรา เม็ดยา จะแตกร่วนเป็นผงง่าย

2. ยาเม็ดเคลือบน้ำตาล

     เช่น วิตามินรวม เม็ดยามักดูเยิ้มเหนียว มีกลิ่นหืนหรือกลิ่นผิดไปจากเดิม

3. ยาแคปซูล 

แคปซูลแข็ง : แคปซูล มักจะ บวมโป่ง มีจุดเชื้อราขึ้น ที่เปลือก แคปซูล ผงยา ในแคปซูล เปลี่ยนสี จับกันเป็นก้อน ซึ่งต้อง ระวังให้ มาก เพราะ ยาหมดอายุ บางอย่าง หากกินเข้าไปอาจ เป็นอันตรายต่อไต 

แคปซูลนิ่ม : เปลือก แคปซูล เยิ้มเหลวเหนียว กว่าปกติ แคปซูล เปื่อยทะลุ ทำให้ตัว ยาไหลออกมากด้านนอก

4. ยาน้ำแขวนตะกอน 

     เช่น ยาลดกรด ยาคาลาไมน์ ทาแก้ คัน หาก เสื่อมสภาพตะกอน จับกัน เป็นก้อน เกาะติด กันแน่น เขย่าแล้วไม่ กระจายตัว ดังเดิม มี กลิ่น สี หรือ รสเปลี่ยนไป จากเดิม

5. ยาน้ำเชื่อม 

     เช่น ยาแก้ไอ หากหมดอายุ ยาจะมี ลักษณะขุ่น ตกตะกอน ผงตัวยาละลายไม่หมด สีเปลี่ยน มีกลิ่นบูดเปรี้ยวหรือรสเปรี้ยว

6. ยาขี้ผึ้ง และ ครีม 

     ถ้าเสื่อม คุณภาพ จะพบว่าเนื้อยาแข็ง หรือ อ่อนกว่าเดิม เนื้อไม่เรียบ เนื้อยาแห้งแข็ง หรือ สีของยาเปลี่ยนไปจากเดิม

7. ยาหยอดตา

     ถ้าเสื่อม จะเปลี่ยนจากน้ำใสๆ เป็นน้ำขุ่น หรือ หยอดแล้วมี อาการแสบตา มากกว่าปกติ

 

วิธีการดูว่ายาหมดอายุ

            ดูวันหมด อายุของ ยา ที่ระบุไว้บนฉลากยา แต่ถ้ายา นั้นไม่มีบอกวัน หมดอายุ อาจดูจาก วันเดือนปี ที่ผลิต ซึ่งโดยปกติ ถ้าเป็นยาน้ำจะ เก็บไว้ได้ประมาณ 3 ปีนับ จากวันผลิต และ หากเป็นยาเม็ด จะเก็บไว้ได้ 5 ปี  และ ถ้าเป็นยาหยอดตา หากเปิดใช้แล้ว เก็บ ไว้ได้เพียงหนึ่ง เดือน

 

     ดังนั้น ก่อนใช้ ยา ใดๆ จึงควรดูวัน หมดอายุ และ สังเกตสภาพยาว่า เปลี่ยนแปลง หรือ ไม่ เพราะ นอกจากจะรักษาไม่ หายแล้ว ยังเป็น อันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งนี้ หาก ไม่แน่ใจให้ทิ้งไป และ เพื่อความปลอดภัยค่ะ

 

 

ด้วยความปรารถนาดีจาก 

แคปซูลน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ตราแมนเนเจอร์ ( Organic Coconut Oil Capsule COCO MEGA 3 By ManNature )

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

 

 

หน้า เรื่องควรรู้เกี่ยวกับอาหารเสริมโอเมก้า 3 (mannaturecococap.com)

หน้า น้ำมันปลา มิตรหรือศัตรู (mannaturecococap.com)


Tag :